Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาตราตัวสะกด 9มาตรา

มาตราตัวสะกด 9มาตรา มาตราตัวสะกดเป็นเนื้อหาวิชาภาษาไทยของเด็ก ป.4 คู่กับเนื้อหาเรื่องหลักภาษาอื่นๆ เช่น คำเป็น คำตาย มาตราตัวสะกดในภาษาไทยมี 8 มาตรา โดยแม่ ก. กา ไม่นับเป็นมาตราตัวสะกด

Read More »

มาตราตัวสะกด มีกี่มาตรา

มาตราตัวสะกด มีกี่มาตรา คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ ทำหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไปตามมาตราต่าง ๆ มีทั้งหมด 8 มาตรา ได้แก่ แม่กก แม่กง แม่กด แม่กน แม่กบ

Read More »

สระ ภาษา ไทย

สระ ภาษา ไทย สระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้

สระ ภาษา ไทย รูปสระ

สระ ภาษา ไทย รูปสระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้แทนเสียงสระ

  •  เรียกว่า วิสรรชนีย์ หรือ นมนางทั้งคู่
  •  ั เรียกว่า ไม้หันอากาศ, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด
  •  ็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้ หรือ ไม้ตายคู้
  •  เรียกว่า ลากข้าง
  •  ิ เรียกว่า พินทุ์อิ หรือ พินทุอิ
  •  ่ เรียกว่า ฝนทอง
  •  ํ เรียกว่า นิคหิต, นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
  •  เรียกว่า ฟันหนู หรือ มูสิกทันต์
  •  ุ เรียกว่า ตีนเหยียด หรือ ลากตีน
  •  ู เรียกว่า ตีนคู้
  •  เรียกว่า ไม้หน้า
  •  เรียกว่า ไม้ม้วน
  •  เรียกว่า ไม้มลาย
  •  เรียกว่า ไม้โอ
  •  เรียกว่า ตัวออ
  •  เรียกว่า ตัวยอ
  •  เรียกว่า ตัววอ
  •  เรียกว่า ตัวรึ
  • ฤๅ เรียกว่า ตัวรือ
  •  เรียกว่า ตัวลึ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
  • ฦๅ เรียกว่า ตัวลือ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)

เสียงสระ

สระ 21 รูปสามารถเข้ามาประกอบกันเป็นเสียงสระได้ 32 เสียง โดยสะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน ดังนี้

อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู
เอะ เอ เเอะ เเอ เอียะ เอีย เอือะ เอือ
อัวะ อัว โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ
อำ ใอ ไอ เอา ฤๅ ฦๅ

เมื่อเวลาออกเสียงสระ เช่น อะ อา เอะ เอ เอียะ เอีย จะออกเสียงแตกต่างกัน บางตัวออกเสียงสั้น บางตัวออกเสียงยาว จึงแบ่งสระตามอัตราเสียงเป็น 2 จำพวก ได้แก่

  1. สระเสียงสั้น หรือ รัสสระ ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
  2. สระเสียงยาว หรือ ทีฆสระ ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ

เสียงสระในภาษาไทยแบ่งตามฐานการออกเสียงออกเป็น 3 ชนิด คือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน ดังนี้

  1. สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือ สระที่เกิดจากฐานเสียงเพียงฐานเดียว เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสม มีทั้งสิ้น 18 เสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
  2. สระประสม หรือ สระเลื่อน คือ สระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ มี 6 เสียงดังนี้
    • เอียะ ประสมจากเสียงสระ อี กับ อะ
    • เอีย ประสมจากเสียงสระ อี กับ อา
    • เอือะ ประสมจากเสียงสระ อือ กับ อะ
    • เอือ ประสมจากเสียงสระ อือ กับ อา
    • อัวะ ประสมจากเสียงสระ อู กับ อะ
    • อัว ประสมจากเสียงสระ อู กับ อา
  3. สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี 8 เสียง ได้แก่
    • อำ ประสมจากเสียงสระ อะ และพยัญชนะ ม สะกด (อัม) เช่น ขำ บางครั้งออกเสียงยาว (อาม) เช่น น้ำ
    • ใอ ประสมจากเสียงสระ อะ และพยัญชนะ ย สะกด (อัย) เช่น ใจ บางครั้งออกเสียงยาว (อาย) เช่น ใต้
    • ไอ ประสมจากเสียงสระ อะ และพยัญชนะ ย สะกด (อัย) เช่น ไหม้ บางครั้งออกเสียงยาว (อาย) เช่น ไม้
    • เอา ประสมจากเสียงสระ อะ และพยัญชนะ ว สะกด (โอว) เช่น เกา บางครั้งออกเสียงยาว (อาว) เช่น เก้า
    • ฤ ประสมจากเสียงพยัญชนะ ร และสระ อึ (รึ) เช่น พฤกษา บางครั้งเปลี่ยนเสียงเป็น ริ เช่น กฤษณะ หรือ เรอ เช่นฤกษ์
    • ฤๅ ประสมจากเสียงพยัญชนะ ร และสระ อือ (รือ)
    • ฦ ประสมจากเสียงพยัญชนะ ล และสระ อึ (ลึ)
    • ฦๅ ประสมจากเสียงพยัญชนะ ล และสระ อือ (ลือ)

บางตำราถือว่าภาษาไทยมี 21 เสียง ทั้งนี้ คือไม่รวมสระเกินทั้ง 8 เสียง เนื่องจากถือว่าเป็นพยางค์ ซึ่งมีหน่วยเสียงในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้นทั้ง 3 เสียง คือ เอียะ เอือะ อัวะ เนื่องจากมีที่ใช้ในภาษาไทยน้อยมาก และสระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้ใหญ่จะเป็นคำเลียนเสียงซึ่งไม่ได้ใช้สื่อความหมายอื่น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น

ตำแหน่งของสระ

สระต่าง ๆ เมื่อประสมกับพยัญชนะต้น จะอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกัน ได้แก่

  • ไม่ปรากฏรูปสระ ได้แก่ สระอะเมื่อมีตัว ร สะกด (-รร) สระโอะเมื่อมีตัวสะกด (โ–ะ) และสระออเมื่อมีตัว ร สะกด (-ร) เช่น สรร คน รก จง พร
  • ข้างหน้าพยัญชนต้น ได้แก่สระอะเมื่อมีตัว ว สะกด (โ-ว) สระเอ (เ-) สระแอ (แ-) สระโอ (โ-) สระเออที่มีตัว ย สะกด (เ-ย) สระใอ (ใ-) และสระไอ (ไ-) เช่น โสว เก เซ เข แล แพ แก โต โพ โท เนย ใกล้ ใคร ใหญ่ ไป ไซ ไส
  • ข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอะ (-ะ) สระอา (-า) สระออ (-อ) และ ร หัน (-รร) เช่น กะ จะ ปะ มา กา ตา ขอ รอ พอ ธรรม
  • ข้างบนพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอือเมื่อมีตัวสะกด (-ื) สระอิ (-ิ) สระอี (-ี) สระอึ (-ึ) และไม้หันอากาศ (–ั) เช่น บิ สิ มิ ปี ดี มี หึ สึ หัน กัน ปัน
  • ข้างล่างพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอุ (-ุ) และสระอู (-ู) เช่น ผุ มุ ยุ ดู รู งู
  • ข้างหน้าและข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระเอะ (เ-ะ) สระแอะ (แ-ะ) สระโอะ (โ-ะ) สระเอาะ (เ-าะ) สระเออะ (เ-อะ) สระเออ (เ-อ) และสระเอา (เ-า) เช่น เละ เตะ เกะ และ แพะ แกะ โปะ โละ เลอะ เถอะ เจอะ เจอ เธอ เรอ เกา เผา เรา
  • ข้างหน้าและข้างบนพยัญชนะต้น ได้แก่ สระเอะเมื่อมีตัวสะกด (เ–็) สระแอเมื่อมีตัว ร สะกด (เ—็ร) สระแอะเมื่อมีตัวสะกด (แ–็) สระเออะสระเออเมื่อมีตัวสะกด (เ–ิ) และสระเออะที่มีตัว ย สะกด (เ—็ย)
  • ข้างบนและข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอืเมื่อไม่มีตัวสะกด (-ือ) สระอัวะ (-ัวะ) สระอัว (-ัว) สระอำ (-ำ) สระเอา (เ-า) และสระเอาะเมื่อมีตัวสะกด (–็อ) เช่น มือ ถือ ลือ ผัวะ ยัวะ ตัว รัว หัว รำ ทำ จำ
  • ข้างหน้า ข้างบน และข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระเอียะ (เ-ียะ) สระเอีย (เ-ีย) สระเอือะ (เ-ือะ) และสระเอือ (เ-ือ) เช่น เผียะ เพียะ เกียะ เสีย เลีย เปีย เสือ เรือ เจือ

การเปลี่ยนแปลงรูปสระ

สระเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของการประสมอักษร ซึ่งมีวิธีการใช้แตกต่างกัน ดังนี้

  1. สระคงรูป คือการเขียนสระตามรูปเดิมเมื่อประสมอักษร เช่น กะ เตะ โปะ เคาะ กอ กำ หัว เป็นต้น สระ -ะ, เ-ะ, โ-ะ … ในคำที่ยกมาไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่อประสมอักษร
  2. สระเปลี่ยนรูป คือ สระที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่อประสมอักษร เช่น กับ ( ก +  + บ) เจ็บ (จ + เ-ะ + บ) เพ็ร (พ +  + ร) เกิน (ก + เ-อ + น ) เล็ย (ล + เ-อะ + ย) เป็นต้น
  3. สระลดรูป คือ สระที่เขียนลดรูปเมื่อประสมอักษร เช่น สรร (ส + -ะ ร) งก (ง + โ-ะ + ก) จร (จ + -อ + ร) เคย (ค + เ-อ + ย)
  4. สระเติมรูป คือสระที่เขียนเติมรูปเมื่อไม่มีตัวสะกด เช่น มือ (ม + —ื)

สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกดจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา

การใช้ไม้ม้วน และไม้มลาย

สระใอไม้ม้วน (ใ-) ที่ใช้ในภาษาไทยมีทั้งหมด 20 คำ ได้แก่ ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ้ ใฝ่ ใย สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหม่ ใหล ใหญ่ หลงใหล ใหญ่ นอกนั้นใช้สระไอไม้มลาย (ไ-) เช่น ไป ไซ ไส ใช้กับคำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น ไกด์ ไมล์ สไลด์ ใช้กับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่แผลงสระอิเป็นสระไอ เช่น ตรี – ไตร ใช้กับคำที่มาจากภาษาเขมร เช่น สไบ

การใช้ ร หัน

ร หัน คือสระอะที่มีตัว ร สะกด

ในภาษาไทยการเขียนโดยใช้ รร (ร หัน) แทนเสียงสระ อะ และเปลี่ยนรูปเป็นไม้หันอากาศ ออกเสียงเป็นเสียง (อัน) เช่นเดียวกับคำที่อยู่ในมาตราแม่กน ปัจจุบัน การใช้ รร (ร หัน) ก็เพื่อรักษาประวัติของคำหรือเพื่อความไพเราะ เมื่อผู้เรียนเรียนในระดับสูงขึ้นจะเข้าใจหลักเกณฑ์เพื่อช่วยจำได้ดีขึ้นในมาตราแม่กน รร (ร หัน) มักใช้แทนเสียง อัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

สรร อ่านว่า สัน

ขรรค์ อ่านว่า ขัน

สรรค์ อ่านว่า สัน

กรรโชก อ่านว่า กัน – โชก สระ ภาษา ไทย

บทความที่น่าสนใจ