Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาตราตัวสะกดแม่กง

มาตราตัวสะกดแม่กง เป็นเครื่องหมายทางวัฒนธรรมที่สำคัญในประเทศไทย หมายถึงการใช้ตัวหนังสือในการอ่านออกเสียงข้อความภาษาไทยที่มีเสียงเหมือนคำว่า “แม่กง” เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนและออกเสียงคำศัพท์ไทยที่ถูกต้อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 4 มีการใช้มาตราตัวสะกดแม่กงในเอกสารทางราชการและการศึกษา เพื่อให้คำมีความถูกต้องในการสื่อสารในระดับทางการต่าง ๆ มาตราตัวสะกดแม่กงสามารถเป็นเครื่องกำกับที่ช่วยให้ผู้อ่านและผู้เรียนรู้ถึงเสียงที่ถูกต้องของภาษาไทย นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมให้ประชาชนไทยรักภาษาอย่างล้ำลึกและรักการอ่านอย่างถูกต้อง มาตราตัวสะกดแม่กงประกอบด้วยตัวอักษร 44 ตัว

Read More »

มาตราตัวสะกดแม่กม ความสำคัญของระบบสะกดคำแม่กกในการสื่อสารไทย

มาตราตัวสะกดแม่กม ระบบสะกดแม่กกเป็นระบบสะกดคำที่ใช้ในภาษาไทยเพื่อช่วยให้การสื่อสารและการเขียนภาษาไทยมีความถูกต้องและเป็นระเบียบ เราสามารถพบเจอระบบสะกดแม่กกในหนังสือพิมพ์ บทความวิชาการ งานบริหารงาน และการสื่อสารเชิงวิชาการอื่น ๆ มาตราตัวสะกดแม่กกมีความสำคัญอย่างใหญ่ในการเสริมสร้างการสื่อสารและการเขียนที่ถูกต้องและแม่นยำ โดยมีจำนวนถึง 1000 คำภาษาไทยที่เคลื่อนไหวในระบบ นอกจากนี้ยังมีคำทางวิทยาศาสตร์ คำทางการแพทย์ คำทางเศรษฐศาสตร์ และคำศัพท์ในแวดวงการวิจัยและการสื่อสาร

Read More »

มาตราตัวสะกดแม่กก

มาตราตัวสะกดแม่กก เป็นระบบการเขียนสะกดคำภาษาไทยที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ระบบสะกดแม่กกนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยคณะคุณวีระ แมคดอนะวัน ในปี พ.ศ. 2518 โดยใช้เอกสารเกริ่นนำเป็นหลักฐานในการสร้างมาตราตัวสะกด โดยจุดประสงค์หลักของระบบคือการให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเข้าใจคำไทยได้ ซึ่งได้รับการพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้อนข้อมูลและค้นหาข้อมูลในระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสะกดแม่กกใช้เสียงเป็นหลักในการสะกดคำ โดยแยกเสียงออกเป็น 3 ระดับลำดับ ได้แก่

Read More »

พยัญชนะไทย สระ คืออะไร

พยัญชนะไทย สระ พยัญชนะไทย คือ เครื่องหมายหรือตัวอักษร ก-ฮ ที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะในภาษาไทย เพื่อนำไปประกอบเป็นคำที่มีความหมายสำหรับใช้สื่อสาร เสียงของพยัญชนะ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมา โดยจะแตกต่างกันออกไปตามการถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง ทำให้ได้เสียงที่หลากหลาย

พยัญชนะไทยจะอ่านและเขียนโดยเรียงจากซ้ายไปขวา ขณะที่สระอาจวางอยู่ด้านหน้า หลัง บน หรือ ล่างพยัญชนะเพื่อประกอบเป็นคำ ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของสระ

พยัญชนะไทย สระ มีกี่ตัวและมีตัวอักษรอะไรบ้าง

พยัญชนะไทย สระ ตัวอักษรไทยหรือพยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว ก-ฮ หรือ 44 รูป 21 เสียง ดังต่อไปนี้

ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช
ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด
ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ
ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส
ห ฬ อ ฮ

พยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียง เนื่องจากพยัญชนะบางตัวมีเสียงซ้ำกัน เช่น ข ฃ ค ฅ ฆ และมีพยัญชนะสองตัวที่ไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งได้แก่ ฃ และ ฅ

พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็นกี่หมู่ และไตรยางศ์คืออะไร

ตัวอักษร 3 หมู่ ไตรยางศ์

ดาวน์โหลดสื่อการสอน PowerPoint ไตรยางศ์ อักษรสามหมู่

พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็น 3 หมู่ หรือที่รู้จักกันว่า “ไตรยางศ์” ทั้งนี้ ไตรยางศ์ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทยโดยรูปพยัญชนะ ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ของพยัญชนะแต่ละหมวด โดยยึดเอาพื้นเสียงของพยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์เป็นเกณฑ์ โดยเสียงวรรณยุกต์ หมายถึง ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี 5 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา

การจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 หมู่ตามไตรยางศ์ คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ

อักษรสูง

บัตรคำพยัญชนะไทย อักษรสูง 11 ตัว

  • อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห โดยผันได้ 3 เสียง คือ เอก โท จัตวา
  • วิธีท่องจำอักษรสูง คือ ผี ฝาก ถุง (ฐ, ถ) ข้าว (ฃ, ข) สาร (ศ, ษ, ส) ให้ ฉัน

อักษรกลาง

พยัญชนะไทย อักษรกลาง 9 ตัว

  • อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ โดยผันได้ 5 เสียง คือ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
  • วิธีท่องจำอักษรกลาง คือ ไก่ จิก เด็ก (ด, ฎ) ตาย (ต, ฏ) บน ปาก โอ่ง

อักษรต่ำ

พยัญชนะไทย อักษรต่ำ 24 ตัว

  • อักษรต่ำมี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ โดยผันได้ 3 เสียง คือ สามัญ โท ตรี
  • อักษรต่ำยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อักษรคู่ (มีอักษรสูงเป็นคู่) 14 ตัว และอักษรเดี่ยว 10 ตัว
  • วิธีจำอักษรต่ำเดี่ยว คือ งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก
  • วิธีจำอักษรต่ำคู่ คือ พ่อ (พ, ภ) ค้า (ค, ฅ) ฟัน ทอง (ฒ, ฑ, ท, ธ) ซื้อ ช้าง ฮ่อ

ไตรยางค์ หรือ ไตรยางศ์?

✅ คำที่ถูกต้อง: ไตรยางศ์

❌ คำที่ผิด: ไตรยางค์

ตัวสะกดที่ถูกต้องตามพจนานุกรม คือ ไตรยางศ์ (ศ ศาลา) โดยที่ “ไตรยางศ์” แปลว่า สามส่วน มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย + อํศ (ไตร + องศ์)

หน้าที่ของพยัญชนะไทย

ตัวอย่างหน้าที่ของพยัญชนะ ได้แก่

  • เป็นพยัญชนะต้นของคำ เป็นตัวแรกของคำหรือพยางค์ เช่น คน สวย
  • เป็นพยัญชนะท้ายคำหรือตัวสะกด ซึ่งเรามักเรียนรู้ในรูปมาตราตัวสะกด เช่น คำว่า ตก หรือ สุข ที่มีตัวสะกดอยู่ในมาตราแม่ กก
  • เป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำ เช่น กล้า (กล)
  • เป็นอักษรนำ-อักษรตาม เช่น หวาน หรูหรา อย่า อยู่ อย่าง อยาก
  • เป็นอักษรย่อ เช่น ม.ค. ย่อมาจาก มกราคม
  • เป็นตัวการันต์ เช่น จันทร์ สัตว์

ประวัติอักษรไทยและเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับภาษาไทย

  • พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย หรือ “ลายสือไทย” ขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1826 โดยดัดแปลงมาจากอักษรมอญ อักษรขอม และอักษรอินเดียฝ่ายใต้
  • หลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหง อักษรไทยได้มีการปรับปรุงต่อมาเรื่อย ๆ และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณปี พ.ศ. 2223 ตัวอักษรไทยได้เริ่มมีรูปทรงคล้ายกับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
  • พยัญชนะมี 44 รูป แต่มีเสียงเพียง 21 เสียงเท่านั้น เพราะพยัญชนะบางรูปจะมีเสียงซ้ำกัน
  • สระในภาษาไทยมี 21 รูป
  • วรรณยุกต์ไทยมี 4 รูป 5 เสียง
  • พยัญชนะไม่สามารถออกเสียงตามลำพังได้ โดยต้องอาศัยเสียงสระช่วยเพื่อให้ออกเสียงเป็นคำ
  • ภาษาไทยมีความเป็นเอกลักษณ์ เพราะประกอบไปด้วยพยัญชนะไทย สระ และวรรณยุกต์
  • ภาษาไทยมีเลขไทย หรือตัวอักษรไทยที่เป็นตัวเลข ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
  • วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย

สื่อพยัญชนะไทย

สำหรับคุณครูและผู้ปกครองที่กำลังมองหาสื่อการสอนเกี่ยวกับพยัญชนะไทย เพื่อสร้างสีสันและความน่าสนใจให้กับกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยของเด็ก ๆ Twinkl.co.th (ทวิงเคิล) มีสื่อพยัญชนะไทยมากมายให้ผู้สอนได้เลือกใช้กัน

บัตรคำ ก-ฮ (Thai Alphabet Flash Cards with Pictures)

บัตรคำ ก-ฮ พร้อมรูปภาพสื่อการสอนแฟลชการ์ดหรือบัตรคำ ก-ฮ ชุดนี้ประกอบไปด้วยพยัญชนะแต่ละตัวสีสันสดใส โทนสีพาสเทล บนพื้นหลังสีขาวที่ด้านบนของบัตรคำแต่ละใบ เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน พร้อมด้วยภาพประกอบที่ด้านล่างซึ่งสัมพันธ์กับพยัญชนะต่าง ๆ ตั้งแต่ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก

เกมจับคู่พยัญชนะไทย (Thai Alphabet Matching Activity)

เกมจับคู่พยัญชนะไทย

ใช้สื่อการสอนเกมจับคู่พยัญชนะไทยเพื่อช่วยเพิ่มสีสันและความท้าทายให้กับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย และช่วยส่งเสริมให้เด็ก ๆ ทำความรู้จักกับพยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว เหมาะสำหรับผู้เรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษา

สื่อการสอนพยัญชนะไทย 44 ตัว พร้อมรูปภาพ

พยัญชนะไทย 44 ตัว พร้อมรูปภาพ

ส่งเสริมการเรียนรู้และการฝึกเขียนตัวอักษรไทย ก-ฮ ด้วยสื่อการสอนพยัญชนะไทย 44 ตัว พร้อมรูปภาพ เหมาะสำหรับกิจกรรมท่องจำและใช้เป็นแบบฝึกเขียน ก-ฮ ของเด็ก ๆ ระดับอนุบาลและประถมศึกษา ผู้สอนสามารถดาวน์โหลดสื่อการสอนพยัญชนะไทย 44 ตัว พร้อมรูปภาพชุดนี้ได้เป็นไฟล์ PDF แต่ละหน้าจะมีพยัญชนะไทยแต่ละตัว ตั้งแต่ ก-ฮ สีต่าง ๆ ที่ด้านบน พร้อมจุดหรือรอยประให้นักเรียนใช้เป็นแบบฝึกเขียน ก-ฮ ส่วนด้านล่าง นักเรียนจะได้เห็นรูปภาพสวย ๆ สีสันสดใส ที่สอดคล้องกับพยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว

แบบฝึกหัดอักษรสามหมู่ (ไตรยางศ์)

แบบฝึกหัดอักษรสามหมู่

ใบงานอักษรสามหมู่ประกอบไปด้วยแบบฝึกหัด 3 ชุด นักเรียนจะเห็นช่องว่างรูปดาวสำหรับเติมตัวอักษรหมู่ต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามคำสั่งที่อยู่ด้านบนของใบงาน ทั้งอักษรสูง 11 ตัว อักษรกลาง 9 ตัว และอักษรต่ำ 24 ตัว พร้อมทั้งยังมีกลอนสำหรับช่วยจำอักษรหมู่ต่าง ๆ อีกด้วย

คุณครูและผู้ปกครองสามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ใบงานอักษรสามหมู่ที่มาพร้อมเฉลย เพื่อนำไปใช้งานได้ง่าย ๆ ในทันที นอกจากนี้ เรายังมีไฟล์เวอร์ชันขาว-ดำ (Black and White) สำหรับให้นักเรียนทำกิจกรรมระบายสีร่วมด้วย

ใบงานพยัญชนะไทย – กิจกรรมตามหาพยัญชนะไทย

ใบงานพยัญชนะไทย กิจกรรมตามหาพยัญชนะไทย

เรียนรู้และสร้างความคุ้นเคยกับพยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว ผ่านเกม I Spy เพื่อค้นหาพยัญชนะไทยต่าง ๆ ตามคำสั่ง กิจกรรมตามหาพยัญชนะไทยนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อช่วยให้นักเรียนทำความคุ้นเคยกับตัวอักษรต่าง ๆ ในภาษาไทยตั้งแต่ ก-ฮ นักเรียนจะเห็นพยัญชนะไทยสีต่าง ๆ คละกันอยู่ในกรอบของใบงาน เพื่อให้นักเรียนแล้ววงกลมล้อมรอบพยัญชนะตามคำสั่ง เพียงดาวน์โหลดใบงานกิจกรรมตามหาพยัญชนะไทยชุดนี้แล้วพิมพ์ออกมาใช้งานได้ทันที พยัญชนะไทย สระ

บทความที่น่าสนใจ