Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาตราตัวสะกด 9มาตรา

มาตราตัวสะกด 9มาตรา มาตราตัวสะกดเป็นเนื้อหาวิชาภาษาไทยของเด็ก ป.4 คู่กับเนื้อหาเรื่องหลักภาษาอื่นๆ เช่น คำเป็น คำตาย มาตราตัวสะกดในภาษาไทยมี 8 มาตรา โดยแม่ ก. กา ไม่นับเป็นมาตราตัวสะกด

Read More »

มาตราตัวสะกด มีกี่มาตรา

มาตราตัวสะกด มีกี่มาตรา คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ ทำหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไปตามมาตราต่าง ๆ มีทั้งหมด 8 มาตรา ได้แก่ แม่กก แม่กง แม่กด แม่กน แม่กบ

Read More »

วรรณยุกต์ไทย

วรรณยุกต์ไทย วรรณยุกต์ หมายถึง เครื่องหมายที่แสดงเสียงสูง ต่ำ ของคำในภาษาไทย มี ๔ รูป คือ

เอก โท ตรี จัตวา

ในภาษาไทยคำทุกคำเมื่อใส่วรรณยุกต์เข้าไปแล้ว จะทำให้อ่านออกเสียงต่างกัน และความหมายของคำก็จะเปลี่ยนไปด้วย เช่น

คำ
(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
ตี ตี่ ตี้ ตี๊ ตี๋
ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า
เกา เก่า เก้า เก๊า เก๋า
อาน อ่าน อ้าน อ๊าน อ๋าน

วรรณยุกต์ไทย อักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ

วรรณยุกต์ไทย อักษรไทยแบ่งตามการออกเสียงเป็น ๓ หมู่ หรือเป็นระบบไตรยางศ์ได้ดังนี้

  • อักษรกลาง มี ๙ ตัว ได้แก่
ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
  • อักษรสูง มี ๑๑ ตัว ได้แก่
ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
  • อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว ได้แก่
ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

CorrespMtl5.png อักษรต่ำคู่ คืออักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี ๑๔ ตัว ๗ เสียง ได้แก่
ค, ฅ, ฆ (ข,ฃ) ช, ฌ (ฉ) ซ (ศ, ษ, ส) ฑ, ฒ, ท, ธ (ฐ, ถ) พ, ภ (ผ) ฟ (ฝ) และ ฮ (ห)
CorrespMtl5.png อักษรต่ำเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มีทั้งสิ้น ๑๐ ตัว ได้แก่
ง, ญ, ณ, น, ม, ย, ร, ล, ว และ ฬ

การผันอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ

อักษรกลาง

  • อักษรกลาง พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง คือ ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น
คำ (สามัญ)
(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
ปู ปู
(ยศตรี)
ปู่
(ยศเอก)
ปู้
(ยศโท)
ปู๊
(ยศตรี)
ปู๋
(ยศจัตวา)
จา จา
(ยศตรี)
จ่า
(ยศเอก)
จ้า
(ยศโท)
จ๊า
(ยศตรี)
จ๋า
(ยศจัตวา)
อา อา
(ยศตรี)
อ่า
(ยศเอก)
อ้า
(ยศโท)
อ๊า
(ยศตรี)
อ๋า
(ยศจัตวา)
ไก ไก
(ยศตรี)
ไก่
(ยศเอก)
ไก้
(ยศโท)
ไก๊
(ยศตรี)
ไก๋
(ยศจัตวา)

แต่ถ้าเป็นคำตาย จะผันได้แค่ ๔ เสียง คือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา เช่น

คำ (สามัญ)
(เอก)

(โท)

(ตร)

(จัตวา)
กัด กัด
(ยศจัตวา)
กั้ด
(ยศโท)
กั๊ด
(ยศตรี)
กั๋ด
(ยศจัตวา)
จาก จาก
(ยศจัตวา)
จ้าก
(ยศโท)
จ๊าก
(ยศตรี)
จ๋าก
(ยศจัตวา)
อาบ อาบ
(ยศจัตวา)
อ้าบ
(ยศโท)
อ๊าบ
(ยศตรี)
อ๋าบ
(ยศจัตวา)
บีบ บีบ
(ยศจัตวา)
บี้บ
(ยศโท)
บี๊บ
(ยศตรี)
บี๋บ
(ยศจัตวา)

อักษรสูง

  • อักษรสูง พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น
คำ (สามัญ)
(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
ไข ไข่
(ยศเอก)
ไข้
(ยศโท)
ไข
(ยศตรี)
ขา ข่า
(ยศเอก)
ข้า
(ยศโท)
ขา
(ยศตรี)
ผึง ผึ่ง
(ยศเอก)
ผึ้ง
(ยศโท)
ผึง
(ยศตรี)
ฝาย ฝ่าย
(ยศเอก)
ฝ้าย
(ยศโท)
ฝาย
(ยศตรี)

แต่ถ้าเป็นคำตาย จะผันได้แค่ ๒ เสียง คือ เสียงเอก และเสียงโท เช่น

คำ (สามัญ)
(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
ขัด ขัด
(ยศจัตวา)
ขั้ด
(ยศโท)
ผิด ผิด
(ยศจัตวา)
ผิ้ด
(ยศโท)
สาบ สาบ
(ยศจัตวา)
ส้าบ
(ยศโท)
ฝาก ฝาก
(ยศจัตวา)
ฝ้าก
(ยศโท)

อักษรต่ำ

  • อักษรต่ำ พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น
คำ (สามัญ)
(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
ทา ทา
(ยศตรี)
ท่า
(ยศตรี)
ท้า
ลม ลม
(ยศตรี)
ล่ม
(ยศเอก)
ล้ม
(ยศโท)
รอง รอง
(ยศตรี)
ร่อง
(ยศเอก)
ร้อง
(ยศโท)
งาว งาว
(ยศตรี)
ง่าว
(ยศเอก)
ง้าว
(ยศโท)

แต่ถ้าเป็นคำตาย จะผันได้แค่ ๒ เสียง คือ เสียงตรีกับเสียงโทในสระสั้น และเสียงโทกับเสียงตรีในสระยาว เช่น

คำ (สามัญ)
(เอก)

(โท)

(ตรี)

(จัตวา)
คะ ค่ะ
(ยศเอก)
คะ
(ยศเอก)
งะ ง่ะ
(ยศเอก)
งะ
(ยศเอก)
คาด คาด
(ยศจัตวา)
ค้าด
(ยศโท)
งาด งาด
(ยศจัตวา)
ง้าด
(ยศโท)

การผันเสียงวรรณยุกต์

โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ 5 เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้

หมู่อักษร-คำเป็นคำตาย เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา
อักษรกลาง คำเป็น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
อักษรกลาง คำตาย สระสั้น กะ ก้ะ ก๊ะ ก๋ะ
อักษรกลาง คำตาย สระยาว กาบ ก้าบ ก๊าบ ก๋าบ
อักษรสูง คำเป็น ข่า ข้า ขา
อักษรสูง คำตาย สระสั้น ขะ ข้ะ
อักษรสูง คำตาย สระยาว ขาบ ข้าบ
อักษรต่ำ คำเป็น คา ค่า ค้า
อักษรต่ำ คำตาย สระสั้น ค่ะ คะ ค๋ะ
อักษรต่ำ คำตาย สระยาว คาบ ค้าบ ค๋าบ

คำตายของอักษรกลางและอักษรสูง ไม่ว่าสระจะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ผันวรรณยุกต์ตามรูปแบบเดียวกัน เว้นแต่คำตายของอักษรต่ำ เมื่อเป็นสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวจะผันคนละแบบ

อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ 5 เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี วรรณยุกต์ไทย

บทความที่น่าสนใจ